BLOG

สิ่งที่ควรรู้ก่อนสั่งทำกล่องดนตรี

Demo จะประกอบด้วยเมโลดี้ 2 ส่วนคือ เมโลดี้หลัก(สีขาว) และ เมโลดี้เสริม(สีเทา)โดยเมโลดี้หลักแกะมาจากเนื้อร้อง เมโลดี้เสริมแกะมาจากคอร์ดของเพลง กล่องดนตรีที่ทางร้านนำมาใช้เป็นแบบ 18 note ซึ่งจะต้องแบ่งโน้ตให้เมโลดี้หลักก่อน แล้วที่เหลือถึงจะให้เมโลดี้เสริม เช่น เพลงในตัวอย่าง เมโลดี้หลักใช้ 13 note ซึ่งจะเหลือ 5 note ให้เมโลดี้เสริม ยิ่งเมโลดี้เสริมเยอะยิ่งดี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ข้อจำกัดของกล่องดนตรี ไม่ควรเลือกเพลงที่มีโน้ตซ้ำเยอะๆ เพราะจะทำให้ลงเมโลดี้เสริมได้น้อย เมื่อเพลงจบท่อน จะเริ่มloop ใหม่ในห้องถัดไปเลย เพื่อให้เพลงดูไม่มีรอยต่อ ควรเลือกท่อน hook เพราะท่อนอื่นจะวนloopไม่ได้ ไม่ควรให้จบกลางท่อน เพราะจะไม่เป็น loop (เรื่องนี้สำคัญมาก หลายท่านพอบอกว่ายาวได้มากสุด 24 วิ ก็จะเลือกให้เต็ม 24 วิโดยไม่ดูว่าไปจบตรงไหน ถ้าจุดที่จบของ loop ไม่ลงท่อน จะทำให้กล่องดนตรีฟังดูแปลกๆ ฟังดูขาดเกินๆ) ถ้าท่อนที่เลือกยาว 25-27วิ ยังอาจจะพอทำได้บางเพลง ถ้าเกินกว่านั้นแล้วให้บีบให้เร็วขึ้นจะออกมาไม่ค่อยดี คีย์อาจจะไม่ตรงกับต้นฉบับ ไม่สามารถเลือกคีย์ได้ และของจริงคีย์อาจจะไม่ตรงกับ […]

หลักการทำงานของกล่องดนตรี

กลไลของกล่องดนตรีแบบไขลาน ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักๆ 3 ส่วน คือ 1.กลไกไขลาน 2. Drum 3. หวี เมื่อไขลาน Drum จะเริ่มหมุนและเสียงเพลงจะดังขึ้นมา ในที่นี้จะขอพูดถึงเฉพาะ Drum และหวี ซึ่งชิ้นส่วนที่ทำให้กล่องดนตรีแต่ละชิ้นมีเพลงแตกต่างกันออกไป ทั้งสองชิ้นส่วนนี้ต้องอยู่คู่กัน ไม่สามารถเอา Drum ของเพลงนึง ไปใส่กับหวีของอีกเพลงนึงได้ Drum คือแผ่นเหล็กที่ขึ้นรูปเป็นทรงกระบอก มี pin เล็กๆยื่นออกมาซึ่งทำหน้าที่ดีดหวีให้เกิดเสียง layout ของ pin จะวางเป็นแถว 18 แถว ตรงกับแต่ละซี่ของหวี ซึ่งตำแหน่งของ pin นี้จะเป็นตัวกำหนดว่าหวีจะถูกดีดเมื่อไหร่ การวางตำแหน่งของ pin จะถูกกำหนดจาก computer ตัวอย่าง layout ของเพลง senorita ตามด้านล่าง pin จะวางเป็นแถว18 แถว แต่ละแถวมีหน้าที่ดีดหวี 1 ซี่ ซึ่งซี่นั้นมีโน้ตตามด้านซ้าย จำนวนแกวนั้นต้องเป็น 18 […]

ข้อจำกัดของกล่องดนตรี

ก่อนจะอ่านเรื่องนี้ รบกวนเข้าไปอ่าน หลักการทำงานของกล่องดนตรี ก่อนนะครับ การสร้างกล่องดนตรีนั้นมีข้อจำกัดหลายประการมาก ไม่ใช่ทุกเพลงที่สามารถทำได้ การเรียบเรียงโน๊ตของกล่องดนตรีจะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเหล่านี้ ไม่สามารถวางโน๊ตตำแหน่งไหนก็ได้เหมือนโน๊ตของเครื่องดนตรีอื่นๆ มีรายละเอียดดังนี้ ตำแหน่งของ pin อยู่ใกล้กันเกินไปไม่ได้ รูปด้านล่างคือ Demo ของเพลง Senario สังเกตุที่วงสีแดง มีโน้ต C เล่นติดกัน 3 ตัว ถ้าเราวางตำแหน่ง pin ตามนี้เลยจะทำให้ pin บน drum อยู่ใกล้กันมาก เวลาเล่น เมื่อ drum หมุนไปถึงจุดนี้ จะเกิดเสียง “เอี๊ยด” ซึ่งเกิดจากการที่ pin ที่1 ขึ้นมาดีดหวีทำให้หวีสั่น แล้ว pin ที่ 2 ก็ขึ้นมาดีดต่อเลยโดยที่การสั่นจาก pin ที่ 1 ยังไม่จบ การที่ pin ดีดหวีที่ยังสั่นอยู่ทำให้เกิดเสียง “เอี๊ยด” ปัญหานี้เป็นเรื่องปกติของกล่องดนตรี แม้แต่กล่องดนตรีจากโรงงาน Sankyo […]